วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

 ตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับครู

ครูกับการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศ

            ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) ในปัจจุบัน   ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม  การศึกษา และวิถีชีวิตของคนเรา  เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้คนในยุคปัจจุบันสามารถติดต่อสื่อสาร  รับรู้รับทราบเหตุการณ์ต่าง ๆ ในโลกได้อย่างทันทีทันใดผ่านเครื่องมือ/อุปกรณ์ที่เป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์  ทั้งเคลื่อนที่และไม่เคลื่อนที่ที่ปัจจุบันแข่งขันในด้านความล้ำยุคและทันสมัย  มีความเป็นอเนกประสงค์    ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่นับวันจะมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่สูงขึ้น เรียกว่า คลิกปุ๊บมาปลั๊บ  สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดสังคมเปิดที่ทุกคน ทุกชาติสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายและสะดวก  สามารถเรียนรู้ซึ่งกันและกันได้อย่างรวดเร็ว  และสิ่งเหล่าต่าง ๆ นี้เองได้เข้ามามีอิทธิพลต่อสภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของคนในสังคมทั้งในทางบวกและทางลบ โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนที่มีความว่องไวต่อการรับรู้สิ่งใหม่ ได้มีโอกาสรับรู้  เรียนรู้ข้อมูลข่าวสารจากเทคโนโลยีสารสนเทศต่าง เป็นอย่างมาก
            เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมากมายในหลายด้าน   โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์   และการสื่อสารโทรคมนาคม ซึ่งมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาหลายประการ  ไม่ว่าจะเป็นการนำเข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องการเรียนรู้  เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)  การใช้มัลติมีเดีย  (Multimedia)  วิดีโออนนดีมานด์  (Video on Demand)  วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์  (Video Teleconference)  และอินเตอร์เน็ต (Internet) การนำมาใช้เพื่อการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลหรือภายในหน่วยงาน  เช่น  การใช้โทรศัพท์  โทรสาร  เทเลคอนเฟอเรนส์  การสนทนาออนไลน์  และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
           ครูในฐานะเป็นบุคคลสำคัญ  ซึ่งมีหน้าที่ในการอบรมสั่งสอนและจัดประสบการณ์การเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ให้กับผู้เรียน เพื่อเป็นทรัพยากรที่มีค่าของสังคม และประเทศชาติ  จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้เท่าทันการเปลี่ยนในสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น   การเรียนรู้ในปัจจุบัน   ที่เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ มีความเจริญรุดหน้า  การเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ จะไม่ถูกจำกัดอยู่เฉพาะแต่ในห้องเรียนและครูเท่านั้น เพราะจะมีช่องทางในการเรียนรู้ได้หลายช่องทาง หลายวิธี โดยการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย  ครูจึงต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนที่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้  มิเช่นนั้นการใช้ชีวิตการเป็นครูก็อาจจะไม่ดำเนินต่อเนื่องไปได้อย่างราบรื่น สามารถอยู่รอดและเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพนี้ได้               
ตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศใช้ในชีวิตประจำวัน

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน


โลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบันคงไม่มีใครปฏิเสธ ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ(Information Technology)หรือที่เรียกว่าITได้ เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้นการสื่อสารข้อมูลเป็นไปด้วย ความรวดเร็วและเชื่อมโยงกันอย่างทั่วถึงและกว้างขวาง(Globalization) เทคโนโลยีทางด้านการสื่อสาร(Communication)และคอมพิวเตอร์(Computer) ได้ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการติดต่อแลกเปลี่ยนสารสนเทศ (Information) ที่มีประสิทธิภาพทำให้เกิดเครือข่ายข้อมูลครอบคลุมทั่วโลกหรือWWW(Worldwide Web)ที่เราเห็นได้จากการใช้งานในระบบอินเตอร์เน็ต(Internet)ซึ่งได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิต ประจำวันไปแล้วและกำลังขยายปริมาณจำนวนผู้ใช้มากขึ้นๆ


ในทุกวันมีการใช้Internetในการสืบค้นข้อมูลความรู้ทั่วไปการติดต่อ สื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ เช่นการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail), การพูดคุย (Chat) หรือ การใช้ Video conference เป็นต้น การทำธุรกิจการค้า(e-commerce)การใช้เพื่อการบันเทิงต่างๆ เป็นการดูหนัง,ฟังเพลง,การอ่านนิตยสารอิเล็กทรอนิกส์(e-Magazine) รวมทั้งe-Bookที่อาจมาแทนที่กระดาษโนอนาคตอันใกล้ ในปัจจุบันนี้ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอาจส่งผลกระทบได้ทั้งทางบวกและทางลบ กล่าวคือ ผลกระทบทางบวกนั้นได้แก่ ในด้านการดำเนินชีวิตประจำวันนั้นเทคโนโลยีช่วยส่งเสริมความสะดวกสบายของมนุษย์ช่วยทำให้ความเป็นอยู่ของมนุษย์ดีขึ้น ช่วยส่งเสริมให้มีประสิทธิภาพในการทำงาน ทำให้มนุษย์มีเวลาว่างเพื่อใช้ในในทางที่เกิดประโยชน์มากขึ้น มีเครื่องมือสื่อสาร โทรคมนาคมที่ทันสมัยใหม่ ให้ติดต่อกันได้สะดวกรวดเร็ว และยังมีเครื่องอำนวยความสะดวกอีกหลายๆ อย่าง แม้แต่ในภาคหน่วยงานราชการก็ยังมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ เช่น สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครองได้นำยุทธศาสตร์ e-Government มาใช้ในการเก็บข้อมูลทะเบียนราษฎร์หกสิบหกล้านระเบียน, บันทึกทะเบียนเกิด ทะเบียนแต่งงาน ทะเบียนหย่า ทะเบียนปืน, บันทึก ตรวจสอบการย้ายเข้า-ออก การเปลี่ยนชื่อ-สกุล, อำนวยความสะดวกในการจัดทำบัตรประชาชน กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ได้ใช้เทคโนโลยีในการบันทึกราคาสินค้าในจังหวัดต่าง ๆ เป็นประจำ, ส่งข้อมูลราคาสินค้าจากจังหวัดเข้าสู่กรมฯ, คำนวณสถิติราคาสินค้าและดัชนีค่าครองชีพ, จัดทำฐานข้อมูลราคาสินค้าต่าง ๆ หรือแม้แต่ในมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาก็ยังนำเทคโนโลยีมาใช้ในการลงทะเบียนวิชาเรียนและเก็บค่าหน่วยกิต, ตรวจข้อสอบและคิดระดับคะแนน, บันทึกข้อมูลและจัดทำฐานข้อมูลนักศึกษา, บันทึกข้อมูลหนังสือ และ การยืมคืน, จัดทำบัญชี และ รายงานเกี่ยวกับการศึกษา ส่วนโรงพยาบาลได้นำมาใช้ในการบันทึกและค้นหาเวชระเบียนผู้ป่วย, จัดทำฐานข้อมูลยาและเวชภัณฑ์, คิดเงินค่ายาและจัดทำบัญชีต่าง ๆ , จัดทำสถิติผู้ป่วยและพิมพ์รายงานส่งกระทรวง, ใช้อุปกรณ์การแพทย์ที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ ในภาคธุรกิจก็นำมาใช้เช่นเดียวกัน ได้แก่ ธนาคารมีการใช้ระบบฝากถอนเงินทุกประเภท ระบบ ATM, ระบบตรวจสอบสินเชื่อ, OFFICE BANKING & HOME BANKING งานค้าปลีกมีการใช้ระบบซื้อสินค้ามาขาย, ระบบสินค้าคงคลังและการจัดทำรหัสแท่ง(Bar Code), ระบบเก็บเงินลูกค้า, ระบบบัญชี, ระบบบัตรเครดิต โรงแรมนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจองห้องพักแบบต่าง ๆ, การลงทะเบียนเข้าพัก, การคิดเงินค่าห้องพักและบริการต่าง ๆ , การจัดทำบัญชีต่าง ๆ , การให้บริการสื่อสารและอินเทอร์เน็ต ในภาคอุตสาหกรรมมีการออกแบบผลิตภัณฑ์ด้วยระบบ Computer Aided Design, ตรวจสอบแบบผลิตภัณฑ์โดยอัตโนมัติ, จัดทำโปรแกรมควบคุมเครื่องจักรการผลิต, บันทึกระบบวัตถุดิบและสินค้าคงคลัง, ระบบ Computer Integrated Manufacturing เป็นต้น อย่างไรก็ตามการนำเทคโนโลยีมาใช้ก็อาจส่งผลกระทบทางลบได้เช่นเดียวกัน กล่าวคือ เทคโนโลยีสามารถนำมาใช้ในการอาชญากรรมได้ โจรผู้ร้ายใช้เทคโนโลยีในการวางแผนปล้น ลักลอบข้อมมูล ฯลฯ , การใช้คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สื่อสาร โดยไม่ต้องเห็นตัว ทำให้ความสัมพันธ์กับผู้อื่นลดน้อยเสื่อมถอยลง, ส่งผลกระทบทางด้านจิตใจของกลุ่มบุคคลบางกลุ่มที่มีความวิตกกังวลว่าอาจจะต้องตกงานเพราะโรงงานส่วนมากจะใช้เครื่องจักรแทนคนงานมากขึ้น ซึ่งความคิดเหล่านี้จะเกิดกับคนบางกลุ่มเท่านั้น, เกิดการพัฒนาอาวุธมากขึ้นสามารถนำเทคโนโลยีมาใช้สร้างเป็นอาวุธที่มีอานุภาพการทำลายล้างสูง ทำเสี่ยงต่อการเกิดสงคราม ฯลฯ เป็นต้น

ดังนั้นจะเห็นว่าเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นเป็นสิ่งที่ยังคงเกี่ยวข้อง สัมพันธ์กับการดำรงชีวิตของมนุษย์ตราบใดที่เรายังต้องพึ่งเทคโนโลยีอยู่ แต่ผลกระทบต่อมนุษย์ที่จะเกิดแก่มนุษย์นั้นจะร้าย ดี มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับมนุษย์ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์ คิด ทำ และนำเทคโนโลยีสารสารเทศมาใช้นั่นเอง

วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ความหมายและความสำคัญของเทคโนโลยี
คำว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ มาจากคำ 2 คำนำมารวมกัน คือ คำว่า เทคโนโลยี และสารสนเทศ เทคโนโลยี + สารสนเทศ = เทคโนโลยีสารสนเทศ
เมื่อพิจารณาความหมายของแต่ละคำจะมีความหมายดังนี้
เทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ ความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ เทคโนโลยีจึงเป็นวิธีการในการสร้างมูลค่าเพิ่มของสิ่งต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น
สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ข้อมูลดังกล่าวต้องผ่านการเก็บรวบรวม จัดเก็บ ตรวจสอบความถูกต้อง แบ่งกลุ่มจัดประเภทของข้อมูล และสรุปออกมาเป็นสารสนเทศ และมนุษย์นำเอาสารสนเทศนั้นไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ เช่น รายงาน ผลงานการวิจัย ข่าวสารต่าง ๆ
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) หมายถึงการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสารสนเทศ ทำให้สารสนเทศมีประโยชน์ และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศรวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ที่จะรวบรวม จัดเก็บ ใช้งาน ส่งต่อ หรือสื่อสารระหว่างกัน เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องโดยตรงกับเครื่องมือเครื่องใช้ในการจัดการสารสนเทศ ซึ่งได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์รอบข้าง ขั้นตอน วิธีการดำเนินการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ เกี่ยวข้องกับตัวข้อมูล เกี่ยวข้องกับบุคลากร เกี่ยวข้องกับกรรมวิธีการดำเนินงานเพื่อให้ข้อมูลเกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้แล้วยังรวมไปถึง โทรทัศน์ วิทยุ โทรศัพท์ โทรสาร หนังสือพิมพ์ นิตยสารต่าง ๆ ฯลฯ
ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
สามารถอธิบายความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านต่าง ๆ ของผู้คนไว้หลายประการดังต่อไปนี้
ประการที่หนึ่ง เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ
ประการที่สอง เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบแห่งชาติไปเป็นเศรษฐกิจโลก ที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจของโลกผูกพันกับทุกประเทศ ความเชื่อมโยงของเครือข่ายสารสนเทศทำให้เกิดสังคมโลกาภิวัฒน์
ประการที่สาม เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้องค์กรมีลักษณะผูกพัน มีการบังคับบัญชาแบบแนวราบมากขึ้น หน่วยธุรกิจมีขนาดเล็กลง และเชื่อมโยงกันกับหน่วยธุรกิจอื่นเป็นเครือข่าย การดำเนินธุรกิจมีการแข่งขันกันในด้านความเร็ว โดยอาศัยการใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นตัวสนับสนุน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็ว 
ประการที่สี่ เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีแบบสุนทรียสัมผัส และสามารถตอบสนองตามความต้องการการใช้เทคโนโลยีในรูปแบบใหม่ที่เลือกได้เอง
ประการที่ห้า เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดสภาพทางการทำงานแบบทุกสถานที่และทุกเวลา
ประการที่หก เทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดการวางแผนการดำเนินการระยะยาวขึ้น อีกทั้งยังทำให้วิถีการตัดสินใจ หรือเลือกทางเลือกได้ละเอียดขึ้น 
            กล่าวโดยสรุปแล้ว เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทที่สำคัญในทุกวงการ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโลกด้านความเป็นอยู่ สังคม เศรษฐกิจ การศึกษา การแพทย์ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม การเมือง ตลอดจนการวิจัยและการพัฒนาต่าง ๆ
แหล่งที่มา 1.  http://www.blogger.com/goog_1597998936
              2. http://www.kmitl.ac.th/agritech/nutthakorn/04093009_2204/isweb/Lesson%2022.htm
เทคโนโลยีสารสนเทศ

ที่มาของเทคโนโลยีสารสนเทศ

มนุษย์มีความพยายามที่จะพัฒนาระบบการติดต่อสื่อสารข้อมูลข่าวสารมาตั้งแต่เริ่มกำเนิดของมนุษยชาติไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาภาษาพูด หรือการติดต่อโดยการใช้รหัสอื่นๆ เช่น มือ หรือท่าทางต่างๆ  คาดคะเนว่าเมื่อห้าแสนปีที่แล้วมนุษย์สามารถส่งสัญญาณท่าทางสื่อสารระหว่างกันและพัฒนามาเป็นภาษา มนุษย์สามารถสร้างตัวหนังสือ และจารึกไว้ตามผนังถ้ำ จนกระทั่งการพัฒนาภาษาเขียนที่เป็นสัญลักษณ์และตัวอักษร นอกจากการพัฒนาการสื่อสารดังกล่าวแล้ว มนุษย์ก็ยังไม่หยุดยั้งในการพัฒนาระบบการติดต่อสื่อสารให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาระบบการติดต่อสื่อสารทางไกล ซึ่งเกิดขึ้นจากการขยายเผ่าพันธุ์ที่มีจำนวนมากขึ้น การโยกย้ายเพื่อตั้งถิ่นฐานใหม่ทำให้เกิดความจำเป็นในการติดต่อสื่อสารทางไกล ด้วยความสามารถในการบันทึกข้อความหรือข่าวสารลงในกระดาษหรืออุปกรณ์อื่นๆ ทำให้มนุษย์พัฒนาระบบไปรษณีย์ขึ้นเพื่อใช้เป็นบริการในการติดต่อสื่อสารข่าวสารข้อมูลทางไกล และเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการรับส่งข่าวสารให้รวดเร็วยิ่งขึ้น
ต่อมามนุษย์ได้พยายามพัฒนาทั้งวิธีการจัดส่งและเทคโนโลยีในการจัดส่ง การเพิ่มความเร็วด้วยการปรับปรุงวิธีการจัดส่งจากรูปแบบของการเดินทางมาเป็นม้า รถ และเครื่องบินตามลำดับนั้น จนกระทั่งมีการพัฒนาเทคโนโลยีโทรคมนาคมซึ่งก่อให้เกิดบริการใหม่ๆ เช่น บริการโทรเลข โทรศัพท์ โทรทัศน์ และด้วยเทคโนโลยีโทรคมนาคมดังกล่าว มนุษย์สามารถติดต่อแลกเปลี่ยนข่าวสารถึงกันได้ทั่วโลก และแม้กระทั่งจากนอกโลกได้ เช่น การติดต่อสื่อสารระหว่างยานอวกาศกับสถานีภาคพื้นดินในเวลาที่รวดเร็วมาก จนกระทั่งอาจจะกล่าวได้ว่าผู้รับข่าวสารได้รับข่าวสารในเวลาเดียวกันกับที่ผู้ส่งข่าวสารได้เริ่มส่งข่าวสาร
การพัฒนาเทคโนโลยีโทรคมนาคมที่ได้กล่าวมาเกิดขึ้นในช่วงระหว่างเวลาตั้งแต่ พ.ศ. 2384 ถึง พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1841 – 1970) อย่างไรก็ดี การพัฒนาเทคโนโลยีในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นไปในลักษณะของการวิวัฒนาการและค่อยเป็นค่อยไป จนกระทั่งตั้งแต่ พ.ศ. 2513 ซึ่งเป็นปีที่เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในสังคมธุรกิจและอุตสาหกรรมอย่างเต็มรูปแบบ อาจกล่าวได้ว่าเป็นปีที่มองเห็นการเคลื่อนตัวของสังคมมนุษย์จากยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมไปเป็นยุคข่าวสารข้อมูลอย่างเป็นรูปธรรม การพัฒนาเทคโนโลยีโทรคมนาคมใหม่ๆ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับบริการใหม่ๆ เช่น เครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต สื่อผสม (Multimedia) เส้นใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) เป็นต้น รวมทั้งการพัฒนาเทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีราคาถูกและมีประสิทธิภาพดีกว่า จากการใช้ยากมาเป็นใช้ง่าย ซึ่งช่วยสนับสนุนให้เทคโนโลยีโทรคมนาคมเกิดการพัฒนาก้าวหน้าขึ้นมาอย่างรวดเร็วด้วย
ที่มา:Baanjomyut